องค์กรมรดกโลก
มรดกโลก World Heritage Site
มรดกโลก (อังกฤษ: World Heritage Site; ฝรั่งเศส: Patrimoine Mondial) คือสถานที่ อันได้แก่ ป่าไม้ ภูเขา ทะเลสาบ ทะเลทราย อนุสาวรีย์ สิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมไปถึงเมือง ซึ่งคัดเลือกโดยองค์การยูเนสโกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงคุณค่าของสิ่งที่มนุษยชาติ หรือธรรมชาติได้สร้างขึ้นมา และควรจะปกป้องสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไร เพื่อให้ได้ตกทอดไปถึงอนาคต
ใน พ.ศ. 2553 มีมรดกโลกที่ขึ้นทะเบียนแล้วทั้งสิ้น 911 แห่ง แบ่งออกเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 704 แห่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ 180 แห่ง และมรดกโลกแบบผสม 27 แห่ง ตั้งอยู่ใน 151 ประเทศ โดยอิตาลีเป็นประเทศที่มีจำนวนมรดกโลกมากที่สุด คือ 44 แห่ง แม้ว่ายูเนสโกจะอ้างอิงถึงมรดกโลกแต่ละแห่งด้วยหมายเลข แต่การขึ้นทะเบียนในหลายครั้งก็จะผนวกเอามรดกโลกที่ได้ขึ้นทะเบียนไปแล้วเข้าเป็นส่วนหนึ่งของมรดกโลกที่มีพื้นที่มากขึ้น ดังนั้นจึงมีหมายเลขมรดกโลกเกิน 1,200 ไปแล้วแม้ว่าจะมีจำนวนมรดกโลกน้อยกว่าก็ตาม
มรดกโลกแต่ละแห่งเป็นทรัพย์สินของประเทศที่เป็นเจ้าของดินแดนที่มรดกโลกตั้งอยู่ แต่ได้ถูกพิจารณาให้เป็นผลประโยชน์ของประชาคมระหว่างประเทศในการอนุรักษ์มรดกโลกแห่ง
ประเภทของมรดกโลก
มรดกโลกแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ มรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage) และ มรดกทางธรรมชาติ (Natural Heritage) ซึ่งในอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกได้ให้คำนิยามไว้ว่า
มรดกทางวัฒนธรรม หมายถึง สถานที่ซึ่งเป็นโบราณสถานไม่ว่าจะเป็นงานด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม หรือแหล่งโบราณคดีทางธรรมชาติ เช่น ถ้ำ หรือกลุ่มสถานที่ก่อสร้างยกหรือเชื่อมต่อกันอันมีความเป็นเอกลักษณ์ หรือแหล่งสถานที่สำคัญอันอาจเป็นผลงานฝีมือมนุษย์หรือเป็นผลงานร่วมกันระหว่างธรรมชาติกับมนุษย์ รวมทั้งพื้นที่ที่เป็นแหล่งโบราณคดี ซึ่งสถานที่เหล่านี้มีคุณค่าความล้ำเลิศทางประวัติศาสตร์ ศิลปะ มนุษยวิทยา หรือวิทยาศาสตร์
มรดกทางธรรมชาติ หมายถึง สภาพธรรมชาติที่มีลักษณะทางกายภาพและชีวภาพอันมีคุณค่าเด่นชัดในด้านความล้ำเลิศทางวิทยาศาสตร์ หรือเป็นสถานที่ซึ่งมีสภาพทางธรณีวิทยาและภูมิประเทศที่ได้รับการวิเคราะห์แล้วว่าเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของพันธุ์พืชและสัตว์ ซึ่งถูกคุกคาม หรือเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของพืชหรือสัตว์ที่หายาก เป็นต้น
ขั้นตอนการสมัครเป็นสมาชิกมรดกโลก
ประเทศที่ต้องการเสนอชื่อสถานที่ในประเทศของตนให้ได้รับการพิจารณาให้ขึ้น ทะเบียนเป็นมรดกโลก อันดับแรกจะต้องจัดทำบัญชีรายชื่อสถานที่ที่มีความสำคัญทางธรรมชาติและ วัฒนธรรมทั้งหมดภายในประเทศของตน บัญชีนี้จะเรียกว่า บัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ซึ่งมีความสำคัญมาก เพราะมีเพียงสถานที่ที่มีชื่ออยู่ในบัญชีนี้เท่านั้นที่จะมีสิทธิได้รับการ เสนอชื่อ ขั้นต่อมา ประเทศนั้นๆจะต้องเลือกรายชื่อสถานที่ที่ต้องการเสนอชื่อมาจากบัญชีรายชื่อ เบื้องต้น เพื่อจัดทำเป็นแฟ้มข้อมูล (Nomination File) โดยทางศูนย์มรดกโลกอาจให้คำแนะนำและช่วยเหลือในการจัดทำแฟ้มข้อมูลนี้
เมื่อถึงขั้นตอนนี้ แฟ้มข้อมูลจะถูกตรวจสอบและพิจารณาจากองค์กร 2 แห่ง ได้แก่ สภานานาชาติว่าด้วยการดูแลอนุสรณ์สถานและแหล่งโบราณคดี (International Council on Monuments and Sites) และ สหภาพสากลเพื่อการอนุรักษ์ (World Conservation Union) แล้วทั้งสององค์กรนี้จะยื่นข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการมรดกโลก ทางคณะกรรมการจะมีการประชุมร่วมกันปีละหนึ่งครั้ง เพื่อตัดสินว่าสถานที่ที่มีการเสนอชื่อแห่งใดบ้างที่ควรได้ขึ้นทะเบียนเป็น มรดกโลก หรือทางคณะกรรมการอาจร้องขอให้ประเทศที่เสนอชื่อได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถาน ที่เพิ่มเติม โดยการพิจารณาว่าจะขึ้นทะเบียนสถานที่แห่งใดจะต้องมีลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐาน ข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อ
เว็บไซต์ทางการยูเนสโก ระบุผลการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ 35 กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ได้ประกาศขึ้นทะเบียนมรดกโลก ปี 2554 ซึ่งเป็นแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ และแบบผสม จำนวน 25 แห่ง โดยแบ่งเป็น แหล่งทางวัฒนธรรม 21 แห่ง แหล่งทางธรรมชาติ 3 แห่ง และแบบผสม 1 แห่ง ทำให้ขณะนี้มีแหล่งมรดกโลกที่มีการขึ้นทะเบียนแล้วทั้งหมด 936 แห่ง เป็นวัฒนธรรม 725 แห่ง ธรรมชาติ 183 แห่ง แบบผสม 28 แห่งสำหรับมรดกโลกปี 2554 ทางวัฒนธรรม ได้แก่
1. โบราณคดีของเกาะ Meroe ซูดาน
2. ป้อมปราการราชวงศ์โฮปลายศตวรรษที่ 14 เวียดนาม
3. พื้นที่กาแฟภูมิทัศน์วัฒนธรรมของโคลัมเบีย
4. ภูมิทัศน์วัฒนธรรมของ Serra de Tramuntana สเปน
5. แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของ Al Ain สหรัฐอาหรับเอมิ
6. โรงงาน Fagus เยอรมนี
7. สถาปัตยกรรมในยุคอาณานิคมของอังกฤษ ศตวรรษที่ 18 -19 บาเบร์ดอส
8. Longobards อิตาลี ประกอบด้วย 7 กลุ่มของอาคารที่สำคัญ
9. เสาเข็มยุคก่อนประวัติศาสตร์รอบเทือกเขาแอลป์ ครอบคลุมออสเตรีย ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี สโลวิเนีย และสวิสเซอร์แลนด์
10. นิเวศวิทยา การประมงและรวบรวมหอยมีชีวิตและการใช้ของมนุษย์อย่างยั่งยืน เซเนกัล
11. สวนเปอร์เซีย อิหร่าน
12. ภูมิทัศน์ทะเลสาบวัฒนธรรมของหางโจว จีน
13. วัดฮิไรซุมิ วัดที่เป็นตัวแทนของพุทธศาสนาที่บริสุทธิ์ ญี่ปุ่น
14. Konso ภูมิทัศน์วัฒนธรรม เอธิโอเปีย
15. มอมบาซา เคนยา
16. คอมเพล็กซ์มัสยิด Selimiye Edirne ตุรกี
17. ภาพแกะสลักหินและอนุสาวรีย์ศพของวัฒนธรรมในมองโกเลีย อัลไต 12,000 ปีที่ผ่านมา
18. ภูมิทัศน์วัฒนธรรมเกษตรเมดิเตอร์เรเนียน ฝรั่งเศส
19. อนุสาวรีย์แสดงการเปลี่ยนแปลงจากบาร็อคกับสถาปัตยกรรมนีโอคลาสสิค นิคารา
20. สถาปัตยกรรมสไตล์เช็ก ยูเครน
21. หมู่บ้านแบบโบราณในภาคเหนือของซีเรีย
ส่วนแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ
1. นิงกาลูโคสต์ แนวปะการัง ออสเตรเลีย
2. หมู่เกาะโอกาซาวาร่า( Ogasawara) ซึ่งมีเกาะมากกว่า 30 เกาะ รวมความหลากหลายของสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ เช่น ค้างคาว ญี่ปุ่น
3. ทะเลสาบเคนยา และแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมแบบผสม ได้แก่ ทะเลทรายวาดิรัม พื้นที่คุ้มครอง จอร์แดน นอกจากนี้ มีพื้นที่ขยายที่ขึ้นทะเบียนอีก 1 แห่ง ป่าไม้บีชดึกดำบรรพ์คลุมเยอรมนี สโลวาเกีย และยูเครน
อย่างไรก็ดตาม คณะกรรมการฯ ได้พิจารณามรดกโลก 2 แห่ง ซึ่งอยู่ในภาวะอันตราย ได้แก่ มรดกป่าฝนในเขตร้อนชื้นของเกาะสุมาตรา อินโดนีเซีย และพื้นที่ลุ่มน้ำของริโอ ฮอนดูรัส
มรดกไทยที่เป็นมรดกโลก
1.อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย - ขึ้นทะเบียนเมื่อปี 2534 สาเหตุที่ได้รับ
เป็นตัวแทนซึ่งแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันฉลาด
เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
2.อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ได้รับพร้อมกับ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
3.อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ได้รับพร้อมกับ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
4.เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง - ขึ้นทะเบียนเมื่อปี 2534 สาเหตุที่ได้รับ
เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดในการเป็นตัวแทนของขบวนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางธรณีวิทยาหรือวิวัฒนาการทางชีววิทยา และปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่กำลังเกิดอยู่ เช่น ภูเขาไฟ เกษตรกรรมขั้นบันได
เป็นแหล่งที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์หายากหรือสวยงามเป็นพิเศษ เช่น แม่น้ำ น้ำตก ภูเขา
เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดสัตว์และพันธุ์พืชที่หายากหรือที่ตกอยู่ในสภาวะอันตราย แต่ยังคงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งรวมถึงระบบนิเวศอันเป็นแหล่งรวมความหนาแน่นของพืชและสัตว์ที่ทั่วโลกให้ความสนใจด้วย
5.ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ - ขึ้นทะเบียนเมื่อปี 2548 สาเหตุที่ได้รับ
เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนา ทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
สาเหตุที่ไทยถอนตัวจากมรดกโลก
วันนี้ (27มิ.ย.54) เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. เวลาประมาณ 23.50 น. ตามเวลาประเทศไทย นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ประกาศในที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ยูเนสโก ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ผ่าน ทวิตเตอร์ @Suwit_Khunkitti ระบุว่า น่าเสียดายนะครับที่หน่วยงานนานาชาติที่มีภารกิจส่งเสริมการศึกษาและวัฒนธรรม จะลืมหน้าที่ของตนเองจนทำให้เกิดความขัดแย้งกันในภาคีสมาชิก การตัดสินใจที่คณะกำลังจะดำเนินการในไม่กี่นาทีข้างหน้านี้ เป็นไปเพื่อไม่ยอมให้ใครใช้ข้ออ้างในการรุกเข้ามาในพื้นที่ที่เป็นอธิปไตยของเรา
ที่ประชุมบรรจุวาระ ผมไม่มีทางเลือกครับ คงต้องถอนตัว ผมได้เคยพูดกับสื่อไทยไปว่า หากสังคมใดดำเนินการตามใจตนเอง ไม่คิดถึงกฎระเบียบที่ลงมติโดยสมาชิกแล้ว ก็ไม่มีประโยชน์ใดๆ ที่เราจะอยู่ในสังคมแบบนี้ กำลังแถลงต่อที่ประชุมครับ คณะผู้แทนพยายามเข้าใจ อธิบาย และอดทนรออย่างเต็มที่แล้ว ผมและคณะนำประเทศไทยถอนตัวจากการเป็นสมาชิกมรดกโลกแล้วครับทั้งนี้นายสุวิทย์ได่นำหนังสือลาออกจากสมาชิกมรดกโลก แสดงต่อสื่อมวลชน http://t.co/nmsJWHKด้าน ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวทีเอ็นเอ็น ได้รายงาน ถึงการถอนตัวของประเทศไทย ว่า นายสุวิทย์ ได้ประกาศว่าประเทศไทยขอลาออกจากการเป็นสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลก โดยให้เหตุผลว่าการที่คณะกรรมการมรดกโลก ได้นำมติวาระการประชุมที่กัมพูชาเสนอมานำเข้าสู่กระบวนการพิจารณา ซึ่งไทยยืนยันมาตลอดว่าเป็นการไม่ถูกต้อง หรือ สัญญาอาจจะทำให้ไทยสุ่มเสี่ยงต่อการเสียดินแดน ตรงนี้ไทยไม่เคยยอมรับ ขณะที่ประเทศไทยพยายามจะคัดค้านมาโดยตลอด แต่ในเมื่อจะเข้าสู่กระบวนการโหวต ไทยจึงต้องขอใช้สิทธิ์ ในการถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลก ซึ่งถือว่าเป็นชาติแรกของโลก ที่ประกาศออกจากสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลกอ่านรายงานการถอนตัวในที่ประชุม
วันนี้ การประชุมทั้งวันเป็นไปอย่างเคร่งเครียด จนเมื่อถึงจุดที่นายสุวิทย์ ประกาศลาออกนั้น ทุกชาติค่อนข้างตกใจเพราะว่า เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งแรก และ ตอนนี้เป็นที่ยืนยันชัดเจนว่า ไทยเราประกาศลาออกจากการเป็นสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลก และ มีผลโดยทันที ซึ่งขณะยังไม่ทราบท่าทีของกัมพูชาจะเป็นอย่างไร หลังจากกรรมการยืนยันนำเรื่องของกัมพูชาเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการมรดกโลก
ส่วนประเทศสมาชิกมีบรรยากาศค่อนข้างตกใจ กำลังกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ของคณะกรรมการแต่ละคน แต่ผลของการลาออกจากคณะกรรมการมรดกโลกนั้น ทำให้ไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการก็สิ้นสุดลงทันทียื่นหนังสือถอนตัวให้ยูเนสโกอย่างเป็นทางการ ทั้งนี้ นายสุวิทย์ ได้นำจดหมาย และแถลงให้ผู้สื่อข่าวฟัง ถึงมุมมองในการตัดสินใจ และรวมถึงบรรยากาศในห้องประชุม ยืนยันว่า เป็นการกระทำที่ได้ไตร่ตรอง และ ผ่านการศึกษาหารืออย่างรอบคอบ รวมถึงได้รับการอนุมัติจาก นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีเรียบร้อยแล้ว
สรุปผลการเลือกตั้ง
สำหรับผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ มีดังนี้
1.พรรคเพื่อไทย ได้ ส.ส.แบ่งเขต 201 คน บัญชีรายชื่อ 61 คน รวม 262 คน
2.พรรคประชาธิปัตย์ ได้ ส.ส.แบ่งเขต 116 คน บัญชีรายชื่อ 44 คน รวม 160 คน
3.พรรคภูมิใจไทย ได้ ส.ส.แบ่งเขต 29 คน บัญชีรายชื่อ 5 คน รวม 34 คน
4.พรรคชาติไทยพัฒนา ได้ ส.ส.แบ่งเขต 15 คน บัญชีรายชื่อ 4 คน รวม 19 คน
5.พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน ได้ ส.ส.แบ่งเขต 6 คน บัญชีรายชื่อ 1 คน รวม 7 คน
6.พรรคพลังชล ได้ ส.ส.แบ่งเขต 6 คน บัญชีรายชื่อ 1 คน รวม 7 คน
7.พรรครักประเทศไทย ได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 4 คน
8.พรรคมาตุภูมิ ได้ ส.ส.แบ่งเขต 1 คน บัญชีรายชื่อ 1 คน รวม 2 คน
9.พรรครักษ์สันติ ได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 1 คน
10. พรรคประชาธิปไตยใหม่ ได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 1 คน
11.พรรคมหาชน ได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 1 คน
สรุปผลการเลือกตั้ง 54
สำหรับผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ มีดังนี้
1.พรรคเพื่อไทย ได้ ส.ส.แบ่งเขต 201 คน บัญชีรายชื่อ 61 คน รวม 262 คน
2.พรรคประชาธิปัตย์ ได้ ส.ส.แบ่งเขต 116 คน บัญชีรายชื่อ 44 คน รวม 160 คน
3.พรรคภูมิใจไทย ได้ ส.ส.แบ่งเขต 29 คน บัญชีรายชื่อ 5 คน รวม 34 คน
4.พรรคชาติไทยพัฒนา ได้ ส.ส.แบ่งเขต 15 คน บัญชีรายชื่อ 4 คน รวม 19 คน
5.พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน ได้ ส.ส.แบ่งเขต 6 คน บัญชีรายชื่อ 1 คน รวม 7 คน
6.พรรคพลังชล ได้ ส.ส.แบ่งเขต 6 คน บัญชีรายชื่อ 1 คน รวม 7 คน
7.พรรครักประเทศไทย ได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 4 คน
8.พรรคมาตุภูมิ ได้ ส.ส.แบ่งเขต 1 คน บัญชีรายชื่อ 1 คน รวม 2 คน
9.พรรครักษ์สันติ ได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 1 คน
10. พรรคประชาธิปไตยใหม่ได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 1 คน
11.พรรคมหาชน ได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 1 คน
และถ้าหากตรวจสอบคะแนน ส.ส.บัญชีรายชื่อเป็นรายภาค จะพบว่า
- ภาคเหนือ เลือกพรรคเพื่อไทย 49.69% พรรคประชาธิปัตย์ 29.67% พรรคชาติไทยพัฒนา 3.60% พรรคภูมิใจไทย 2.00% พรรครักประเทศไทย 1.86% พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน 0.93% พรรคมหาชน 0.57% พรรครักษ์สันติ 0.50% พรรคอื่น ๆ อีก 11.18%
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เลือกพรรคเพื่อไทย 63.49% พรรคประชาธิปัตย์ 13.45% พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน 3.32% พรรคชาติไทยพัฒนา 2.08% พรรครักประเทศไทย 1.34% พรรครักษ์สันติ 0.42% พรรคกิจสังคม 0.34% พรรคอื่น ๆ อีก 15.56%
- ภาคกลาง เลือกพรรคเพื่อไทย 38.8% พรรคประชาธิปัตย์ 35.14% พรรคชาติไทยพัฒนา 4.12% พรรครักประเทศไทย 4.1% พรรคภูมิใจไทย 3.36% พรรคพลังชล 1.67% พรรครักษ์สันติ 0.99% พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน 0.55% พรรคมาตุภูมิ 0.50% พรรคอื่น ๆ อีก 10.77%
- ภาคใต้ เลือกพรรคประชาธิปัตย์ 70.42% พรรคเพื่อไทย 7.63% พรรคมาตุภูมิ 3.3% พรรคภูมิใจไทย 2.94% พรรครักประเทศไทย 2.07% พรรคชาติไทยพัฒนา 1.03% พรรคแทนคุณแผ่นดน 0.91% พรรคมหาชน 0.72% พรรคประชาธรรม 0.57% พรรคประชาธิปไตยใหม่ 0.50% พรรคอื่น ๆ อีก 9.91%
- กรุงเทพมหานคร เลือกพรรคประชาธิปัตย์ 41.62% พรรคเพื่อไทย 39.69% พรรครักประเทศไทย 6.89% พรรครักษ์สันติ 2.66% พรรคมาตุภูมิ 0.39% พรรคชาติไทยพัฒนา 0.34% พรรคกิจสังคม 0.27% พรรคภูมิใจไทย 0.26% พรรคอื่น ๆ อีก 7.88%
พรรคร่วมรัฐบาล
สำหรับการจัดตั้งรัฐบาลโดย ว่าที่นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกคนไทย “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร”เดินหน้าจัดตั้งรัฐบาล โดยมีพรรคการเมืองเข้าร่วมรัฐบาลคือ
พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน พรรคพลังชล พรรคมหาชน และพรรคประชาธิปไตยใหม่ - พรรคเพื่อไทย ได้ ส.ส จำนวน 262 ที่นั่ง
- พรรคชาติไทยพัฒนา ได้ ส.ส จำนวน 19 ที่นั่ง
- พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน ได้ ส.ส จำนวน 7 ที่นั่ง
- พรรคพลังชล ได้ ส.ส จำนวน 7 ที่นั่ง
- พรรคมหาชน ได้ ส.ส จำนวน 1 ที่นั่ง
และพรรคประชาธิปไตยใหม่ 1 ที่นั่ง
รวม 300 ที่นั่ง
วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554ชิ้นที่ 7 เรื่อง บทบาทพระมหากษัตริย์ไทย สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อการพัฒนาชาติไทย
บทบาทพระมหากษัตริย์ไทย สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อการพัฒนาชาติไทย
ด้านการเมือง
สถาบัน พระมหากษัตริย์ได้มีบทบาทเกี่ยวกับการเมืองการปกครองการรวมชาติ การสร้างเอกราช การวางรากฐานการเมืองการปกครอง การสร้างเสถียรภาพทางการเมืองการปกครอง การปฏิรูปการปกครองแผ่นดินตั้งแต่อดีตสืบต่อมาตลอดปัจจุบันบทบาทของพระมหา กษัตริย์มีส่วนช่วยสร้างเอกภาพของประเทศเป็นอย่างมาก คนไทยทุกกลุ่มไม่ว่าศาสนาใดมีขนบธรรมเนียมแตกต่างกันอย่างไรก็มีความรู้สึก ร่วมในการมีพระมหากษัตริย์องค์เดียวกัน การเสด็จออกเยี่ยมราษฎรในจังหวัดต่างๆ แม้ท้องถิ่นทุรกันดาร หรือมากด้วยภยันตรายอยู่ตลอดเวลา ทำให้ราษฎรมีขวัญและกำลังใจดี มีความรู้สึกผูกพันกับชาติว่ามิได้ถูกทอดทิ้ง พระราชกรณียกิจดังกล่าวของพระองค์มีส่วนช่วยในการปกครองเป็นอย่างมาก
พระ ราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์นั้นมีมาก และล้วนก่อประโยชน์ให้เกิดขึ้นต่อส่วนรวมทั้งสิ้น แม้การปฏิบัติพระราชกรณียกิจจะเป็นพระราชภาระอันหนัก แต่ก็ได้ทรงกระทำอย่างครบถ้วนสม่ำเสมอ จนกระทั่งสามารถที่จะผูกจิตใจของประชาชนให้เกิดความจงรักภักดี เพาะตระหนักถึงน้ำพระทัยของพระองค์ว่า ทรงเห็นแก่ประโยชน์สุขของส่วนรวมมากกว่าพระองค์เอง ทรงเสียสละยอมทุกข์ยากเพื่อบ้านเมืองอย่างแท้จริงดังพระราชปณิธานของพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ที่ว่า เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขของมหาชนชาวสยาม
ด้านเศรษฐกิจ
การ พัฒนาและการปฏิรูปที่สำคัญๆ ของชาติส่วนใหญ่พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้นำ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปูพื้นฐานประชาธิปไตย โดยการจัดตั้งกระทรวงต่างๆ ทรงส่งเสริมการศึกษาและเลิกทาส ปัจจุบันพระมหากษัตริย์ทรงเกื้อหนุนวิทยาการสาขาต่างๆ ทรงสนับสนุนการศึกษาและศิลปวัฒนาธรรม ทรงริเริ่มกิจการอันเป็นการแก้ปัญหาหลักทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยจะเห็นว่าโครงการตามพระราชดำริส่วนใหญ่มุ่งแก้ปัญหาหลักทางเกษตรกรรม เพื่อชาวนา ชาวไร่ และประชาชนผู้ยากไร้และด้อยโอกาสอันเป็นชนส่วนใหญ่ของประเทศ เช่น โครงการฝนหลวง ชลประทาน พัฒนาที่ดิน พัฒนาชาวเขา เป็นต้น
ด้านสังคมและวัฒนธรรม
พระ มหากษัตริย์ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจทั้งปวงเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขและความ เจริญแก่สังคม ได้ทรงริเริ่มโครงการต่างๆ ทำให้เกิดการพัฒนาขึ้นทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พระราชดำริและโครงการที่ทรงริเริ่มมีมากซึ่งล้วนแต่เป็นรากฐานในการพัฒนา ชาติทั้งสิ้น โครงการของพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันที่สำคัญ ได้แก่ โครงการอีสานเขียว โครงการฝนหลวง โครงการปลูกป่า โครงการขุดคลองระบายน้ำ โครงการปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดในเมืองใหญ่ โครงการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม และอื่นๆ ทรงทำเป็นแบบอย่างที่ดีประชาชนและหน่วยราชการนำไปปฏิบัติก่อให้เกิดประโยชน์ ในทางการพัฒนาชาติขึ้นมาก นอกจากนี้ทรงทำให้เกิดความคิดในการดำรงชีวิตแบบใหม่ เช่น การประกอบอาชีพ การใช้วิทยาการมาช่วยทำให้สังคมมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น
ด้านการต่างประเทศ
พระ มหากษัตริย์ในอดีตได้ทรงดำเนินวิเทโศบายได้อย่างดีจนสามารถรักษาเอกราชไว้ ได้ โดยเฉพาะสมัยการล่าเมืองขึ้นในรัชกาลที่ 4 และ รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันก็ทรงดำเนินการให้เกิดความ เข้าใจอันดี ความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศต่างๆ กับประเทศไทย โดยเสด็จพระราชดำเนินเป็นทูตสันถวไมตรีกับประเทศต่างๆ ไม่น้อยกว่า 31 ประเทศ ทำให้นโยบายต่างประเทศดำเนินไปอย่างสะดวกและราบรื่น นอกจากนั้นยังทรงเป็นผู้แทนประเทศไทยต้อนรับประมุขประเทศ ผู้นำประเทศ เอกอัครราชทูต และทูตสันถวไมตรีจากต่างประเทศอีกด้วย
ชิ้นที่ 6 เรื่อง การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ถึงปัจจุบัน
สังคมไทยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475
หลังการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อ พ.ศ. 2475 ในช่วงที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ขึ้นครองราชย์นั้น สังคมไทยได้ก้าวสู่ความเป็นอารยะตามแบบตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเจริญที่ปรากฏอยู่ในรูปของวัตถุไม่ว่าจะเป็นถนนหนทาง รถไฟ ไฟฟ้า ประปา เขื่อนชลประทาน โรงพยาบาล ระบบการสื่อสารคมนาคม ที่ทำการรัฐบาล ห้างร้าน และตึกรามบ้านช่อง ตลอดจนเครื่องใช้อันทันสมัย อันมีเจ้านายและชนชั้นสูงเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ส่วนชาวบ้านสามัญชนเป็นผู้ตาม นอกจากนั้นยังมีการเปลี่ยนแปลงในขนบธรรมเนียมบางอย่างเพื่อให้สอดคล้องกับการปกครองระบบใหม่ ทั้งนี้เพราะรัฐบาลต้องติดต่อกับชาติอื่น ๆ ทั่วโลก จึงต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมไทยให้เป็นสากลและสอดคล้องกับความเป็นไปของโลก แต่ให้คงเอกลักษณ์ของความเป็นไทยไว้ที่เด่นชัดในสมัยนั้นก็คือเรื่องการแต่งกายในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ( พ.ศ. 2481-2487 ) ได้มีบัญญัติเรียกว่า “ รัฐนิยม “ ซึ่งเป็นการปลุกระดมอย่างรุนแรง ซึ่งแสดงนโยบายของประเทศว่าต้องการให้ประชาชนคนไทยรักหวงแหนและภูมิใจในความเป็นไทย เช่น ให้ข้าราชการแต่งเครื่องแบบตามที่กำหนด ห้ามสวมกางเกงแพร ให้ทักทายกันด้วยคำว่า “ สวัสดี “ ห้ามกินหมาก ให้สวมหมวกทุกครั้งที่ออกจากบ้าน ใช้คำขวัญปลุกใจทุกเช้าก่อนเรียน การยกเลิกบรรดาศักดิ์โดยให้ใช้เพียงชื่อ สกุล เหมือนคนทั่วไป การเคารพธงชาติ และเพลงสรรเสริญพระบารมีในโรงมหรสพ ฯลฯ
สภาพสังคมหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ทำให้สังคมไทยเป็นสังคมประชาธิปไตย ซึ่งมีลักษณะที่สำคัญ คือ
ประชาชนขึ้นมาเป็นเจ้าของประเทศและมีบทบาทในการปกครองประเทศด้วยกระบวนการกฎหมา
ชนชั้นกลาง พวกพ่อค้า ปัญญาชน ขึ้นมามีบทบาทในสังคมแต่ผู้กุมอำนาจยังคงได้แก่ทหารและข้าราชการ
นายทุนเติบโตจากการค้าและอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็วพร้อมทั้งมีอิทธิพลและบทบาทจนได้เปรียบในสังคม
เกิดช่องว่างในสังคมทำให้ชาวไร่ ชาวนา และกรรมกรมีฐานะและชีวิตอยู่กับความยากจนและถูกเอารัดเอาเปรียบจากสังคม
ชิ้นที่ 5 เรื่อง พัฒนาการชาติไทยสมัยรัชกาลที่ 4,5,6,7 ด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
พัฒนาการชาติไทยสมัยรัชกาลที่ 4,5,6,7
ด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
1. ในสมัยรัชการที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปลี่ยนแปลงนโยบาย ต่างประเทศ มาเป็นการคบค้ากับชาวตะวันตก เพื่อความอยู่รอดของชาติ เนื่องจากทรงตระหนักถึงภัยจากลัทธิจักรวรรดินิยม ซึ่งกำลังคุกคามประเทศต่าง ๆ อยู่ในขณะนั้น
2. จุดเริ่ิมของการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศ คือ การทำสนธิสัญญาเบาริง กับอังกฤษ ใน พ.ศ. 2398 โดยพระนางเจ้าวิกตอเรีย ได้แต่งตั้งให้ เซอร์ จอห์น เบาริง เป็นราชทูตเข้ามาเจรจา
3. สาระสำคัญของสนธิสัญเบาริง มีดังนี้
o อังกฤษขอตั้งสถานกงสุลในประเทศไทย
o คนอังกฤษมีสิทธิเช่าที่ดินในประเทศไทยได้
o คนอังกฤษสามารถสร้างวัด และเผยแพร่คริสต์ศาสนาได้
o เก็บภาษีขาเข้าได้ไม่เกินร้อยละ 3
o พ่อค้าอังกฤษและพ่อค้าไทยมีสิทธิค้าขายกันได้โดยเสรี
o สินค้าต้องห้าม ได้แก่่ ข้าว ปลา เกลือ
o ถ้าไทยทำสนธิสัญญากับประเทศอื่น ๆ ที่มีผลประโยชน์เหนือประเทศ อังกฤษ จะต้องทำให้อังกฤษด้วย
o สนธิสัญญานี้ จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงไม่ได้ จนกว่าจะใช้แล้ว 10 ปี และในการแก้ไข ต้องยินยอมด้วยกันทั้งสองฝ่าย และ ต้องบอกล่วงหน้า 1 ปี
4. ผลของสนธิสัญญาเบาริง
o ผลดี
1. รอดพ้นจากการเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ
2. การค้าขยายตัวมากขึ้น เปลี่ยนแปลงการค้าเป็นแบบเสรี
3. อารยธรรมตะวันตก เข้ามาแพร่หลาย สามารถนำมาปรับปรุงบ้านเมือง ให้เจริญก้าวหน้ามาขึ้น
o ผลเสีย
1. ไทยเสียสิทธิทางการศาลให้อังกฤษ และคนในบังคับอังกฤษ
2. อังกฤษ เป็นชาติที่ได้รับสิทธิพิเศษหลายอย่าง
3. อังกฤษ เป็นฝ่ายได้เปรียบ จึงไม่ยอมทำการแก้ไข
ผลจากการทำสนธิสัญญาเบาริง ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทำให้สภาพสังคมไทย เปลี่ยนแปลง ทั้งในด้านการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เพื่อนำประเทศให้เจริญก้าวหน้า ตามแบบอารยธรรมตะวันตก การเปลี่ยนแปลง ในด้านต่าง ๆ มีดังนี้
1.ด้านการปกครอง
ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงแก้ไขเปลี่ยนแปลงประเพณีบางอย่าง เพื่อให้ราษฎร มีโอกาสใกล้ชิดกับพระมหากษัตริย์ คือ เปิดโอกาสให้ราษฎร เข้าเฝ้าได้โดยสะดวก ให้ราษฎรเข้าเฝ้าถวายฎีการ้องทุกข์ได้ ในขณะที่ทรงเสด็จพระราชดำเนิน ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการปฏิรูปการปกครอง ครั้งสำคัญ โดยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ การปรับปรุงในระยะแรก ให้ตั้งสภา 2 สภา คือ สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน (Council of State) และ สภาที่ปรึกษาในพระองค์ (Privy Council) กับการปรับปรุงการปกครอง ในระยะหลัง (พ.ศ. 2435) ซึ่งนับว่า เป็นการปฏิรูปการปกครองครั้งใหญ่ โดยมีลักษณะ คือ การปกครองส่วนกลาง โปรดให้ยกเลิกการปกครอง แบบจตุสดมภ์ และ จัดแบ่งหน่วยราชการเป็นกรมต่าง ๆ 12 กรม (กะรทรวง) มีเสนาบดีเป็นเจ้ากระทรวง การปกครองส่วนภูมิภาค ทรงยกเลิก การจัดหัวเมืองที่แบ่งเป็นเมืองชั้นเอก โท ตรี และจัตวา เปลี่ยนการปกครองเป็น เทศาภิบาล ทรงโปรดให้รวมเมืองหลายเมืองเป็นมณฑล มีข้าหลวงเทศาภิบาล เป็นผู้ปกครอง ขึ้นตรงต่อกระทรวงมหาดไทย กับทรงแบ่งการปกครองส่วนภูมิภาคเป็นจังหวัด (เมือง) อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน และการปกครองส่วนท้องถิ่น เริ่มจัดการทดลองแบบ สุขาภิบาลขึ้นเป็นครั้งแรก
2. ด้านเศรษฐกิจ
ภายหลังการทำสนธิสัญญาเบาริงแล้ว การค้าของไทยเจริญก้าวหน้าขึ้น มาก ทำให้มีการปรับปรุงด้านเศรษฐกิจ เช่น ในรัชกาลที่ 4 ทรงเปลี่ยนการใช้เงินพดด้วงมาเป็นเงินเหรียญ และขุดคลอง ตัดถนนเพิ่มขึ้นหลายสาย ในสมัยรัชกาลที่ 5 เปลี่ยนมาตราเงินไทยมาใช้ระบบทศนิยม ใช้ทองคำเป็นมาตรฐานเงินตราแทนเงิน ให้ใช้เหรียญบาท สลึง และเหรียญสตางค์แทนเงินแบบเดิม มีการจัดตั้งธนาคารของเอกชนขึ้นเป็นครั้งแรก คือ แบางก์สยามกัมมาจล (ปัจจุบัน คือ ธนาคารไทยพาณิชย์) ในสมัยรัชกาลที่ 6 โปรดให้ตั้งคลังออมสินขึ้น (ปัจจุบันคือ ธนาคารออมสิน)
3.ด้านวัฒนธรรม
ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงประกาศให้ข้าราชการสวมเสื้อเวลาเข้าเฝ้า ทรงให้เสรีภาพประชาชน ในการนับถือศาสนาและประกอบอาชีพ โปรดให้สตรีได้ยกฐานให้สูงขึ้น ในสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชการสวมเสื้อราชปะแตก และสวมหมวกอย่างยุโรป ให้ข้าราชการทหารแต่งเครื่องแบบ ตามแบบตะวันตก โปรดให้ผู้ชายในราชสำนัก ไว้ผมทรงมหาดไทย เปลี่ยนมาไว้ผมตัดยาวทั้งศีรษะแบบฝรั่ง โปรดให้ผู้หญิงเลิกไว้ผมปีก ให้ไว้ผมตัดยาว ที่เรียกว่า "ทรงดอกกระุุทุ่ม" ทรงแก้ไขประเพณีการสืบสันตติวงศ์ โดยยกเลิกตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล แล้วโปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งตำแหน่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร ขึ้น ทรงเลิกประเพณีหมอบคลานเข้าเฝ้า และให้ยืนเข้าเฝ้าแทน ยกเลิกการโกนผม เมื่อพระมหากษัตริย์สวรรคต ยกเลิกการไต่สวนคดีแบบจารีตนครบาล และที่สำคัญที่สุด ที่พระองค์ทรงได้พระราชสมัญญานาม ว่า "พระปิยมหาราช" ซึ่งแปลว่า มหาราชที่ทรงเป็นที่รักของประชาชน คือการยกเลิกระบบไพร่ และระบบทาส ในสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงประกาศใช้พระราชบัญญัตินามกสุล โปรดให้ใช้พุทธศักราช (พ.ศ.) เป็นศักราชทางราชการ แทนรัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) เปลี่ยนแปลงการนับเวลาทางราชการ ให้สอดคล้องกับสากลนิยม โปรดให้กำหนดคำนำหน้าชื่อเด็กหญิง เด็กชาย นางสาว และนาง เปลียนแปลงธงประจำชาติ จากธงรูปช้างเผือก มาเป็นธงไตรรงค์ ตรากฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์ ตามแบบประเทศยุโรป
4.สภาพสังคม
การเลิกทาสในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ทรงดำริว่า การที่ประเทศไทยมีชนชั้นทาสมากเท่ากับเป็นการเสียเศรษฐกิจของชาติ และทำให้ต่างชาติดูถูกและเห็นว่าประเทศไทยป่าเถื่อนด้อยความเจริญ ซึ่งมีผลทำให้ประเทศมหาอำนาจต่างๆ คิดจะเข้าครอบครองไทย โดยอ้างว่า เพื่อช่วยพัฒนาประเทศไทยให้ทัดเทียมประเทศอื่นๆ ที่เจริญแล้วทั้งหลาย
ดังนั้น ใน พ.ศ.2417 พระองค์จึงทรงเริ่มออกพระราชบัญญัติพิกัดกระเษียรอายุลูกทาสลูกไทขึ้น โดยกำหนดค่าตัวทาสอายุ 7-8 ปี มีค่าตัวสูงสุด 12-14 ตำลึง แล้วลดลงเรื่อยๆ เมื่อมีอายุ 21 ปี ค่าตัวจะเหลือเพียง 3 บาท ซึ่งทำให้ทาสมีโอกาสไถ่ตัวเป็นไทได้มากและใน พ.ศ.2420 พระองค์ทรงบริจาคเงินจำนวนหนึ่งเพื่อไถ่ตัวทาสที่อยู่กับเจ้านายมาครบ 25 ปี จำนวน 45 คน พ.ศ.2443 ทรงออกกฎหมายให้ทาสสินไถ่อายุครบ 60 ปี พ้นจากการเป็นทาสและห้ามขายตัวเป็นทาสอีก พ.ศ.2448 ออกพระราชบัญญัติทาส ร.ศ.124 บังคับทั่วประเทศ ห้ามมีการซื้อทาสต่อไป ให้ลดค่าตัวลงเดือนละ 4 บาท จนครบจำนวนเงิน และให้บรรดาทาสเป็นไททั้งหมด
การเลิกทาสของพระองค์ประสบความสำเร็จอย่างดี เป็นเพราะพระปรีชาญาณและพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ ทรงใช้ทางสายกลาง ค่อยๆดำเนินงานไปทีละขั้นตอน ทำให้ไม่เกิดเหตุการณ์รุนแรงดังเช่นประเทศต่างๆ ที่เคยประสบมา
วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2554
วันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
หน่วยที่ 4
กฎหมายหลักที่ใช้ปกครองประเทศ
กฎหมายรัฐธรรมนูญ
ประเทศ ไทยแต่เดิมนั้น อำนาจในการปกครองแผ่นดินเป็นสิทธิขาดของพระมหากษัตริย์แต่พระองค์เดียว หรือที่เรียกว่าระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ต่อมาเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ได้มีกลุ่มบุคคลที่เรียกว่า “คณะราษฎร” ทำ การเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยพระมหากษัตริย์ทรงอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ นับแต่นั้นมารัฐธรรมนูญกลายเป็นหลักสำคัญในการปกครองประเทศ แม้จะมีการยกเลิกหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลายครั้งตามสภาวะการณ์ของบ้านเมือง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 นับเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 16 ของไทยที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
ลักษณะทั่วไปของรัฐธรรมนูญ
รัฐ ธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศและถือเป็นแม่บทของกฎหมาย ต่างๆ ถ้ากฎหมาย ใดขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญกฎหมายนั้นจะใช้บังคับไม่ได้เมื่อกล่าวถึงรัฐ ธรรมนูญจะเกี่ยวข้องกับเรื่องรูปแบบการปกครอง ประมุขของประเทศ อำนาจอธิปไตย และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของไทยคือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้ กำหนดรูปแบบให้ประเทศไทยเป็นรัฐเดี่ยว ไม่ใช้เป็นสหพันธรัฐ สาธารณรัฐ หรือสมาพันธรัฐให้ปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข อำนาจอธิปไตยอันเป็นอำนาจสูงสุดของรัฐแบ่งเป็น 3 ส่วน คืออำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ อำนาจอธิปไตยดังกล่าวเป็นของปวงชนชาวไทย โดยพระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจอธิปไตย กล่าวคือ ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติผ่านทางรัฐสภา อำนาจบริหารผ่านทางคณะรัฐมนตี และอำนาจตุลาการผ่านทางศาล นอกจากนี้รัฐธรรมนูญยังมีบทบัญญัติที่ให้ความคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของ ประชาชนอย่างเสมอภาคกัน
หลักการของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
หลักการของรัฐธรรมนูญฉบับนี้คือ
1. ให้ ความคุ้มครองศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพของประชาชนโดยเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ตลอดจนเพิ่มสิทธิและเสรีภาพใหม่ ให้แก่ประชาชน
2. ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ สามารถถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเสนอกฎหมายได้
3. ปรับปรุงโครงสร้างทางการเมืองให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ และสร้างองค์กรเพื่อควบคุม ตรวจสอบ และถ่วงดุลการใช้อำนาจ
สิทธิและเสรีภาพและหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ
สิทธิ (Right) หมายถึง ประโยชน์ที่กฎหมายรับรองและคุ้มครองให้
เสรีภาพ (Liberty) หมายถึง ความ มีอิสระที่จะกระทำหรืองดเว้นกระทำการ ถ้าเสรีภาพใดมีกฎหมายรองรับ เสรีภาพก็อาจกลายเป็นสิทธิได้ จึงมักเรียกรวม ๆ กันว่า สิทธิและเสรีภาพ
หน้าที่ (Obligation) หมายถึง สิ่งที่กฎหมายกำหนดให้กระทำหรืองดเว้นกระทำ เมื่อมีสิทธิแล้วจะมีหน้าที่ควบคู่ไปด้วยเสมอ
สิทธิและเสรีภาพของพลเมืองไทย
1. สิทธิ และเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย การคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เช่น ห้ามทรมาน ทารุนกรรม หรือลงโทษด้วยวิธีโหดร้าย หรือไร้มนุษยธรรม
2. สิทธิในครอบครัวและความเป็นอยู่ส่วนตัว รัฐธรรมนูญห้ามกล่าวหรือเผยแพร่ข้อความ หรือ ภาพไปสู่สาธารชน ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง และความเป็นอยู่ส่วนตัว เช่น แอบถ่ายภาพผู้อื่นขณะอยู่ในบ้านแล้วนำไปพิมพ์จำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต
3. เสรีภาพในเคหสถาน บ้าน เป็นสถานที่อยู่อาศัยสามารถอยู่อย่างสงบสุข ปราศจากสิ่งใด ๆ มารบกวน แม้แต่อำนาจของรัฐ ผู้อื่นจะเข้าไปภายในบ้านโดยผู้อาศัยในบ้านไม่ยินยอมไม่ได้
4. เสรีภาพในการเดินทาง และเลือกถิ่นที่อยู่ ประชาชน มีสิทธิเดินทางไปที่ใด หรือตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ใดในราช อาณาจักรก็ได้ และจะเนรเทศผู้มีสัญชาติไทยออกนอกราชอาณาจักร หรือห้ามผู้มีสัญชาติไทยเข้ามาในราชอาณาจักรไม่ได้ อย่างไรก็ดีอาจออกกฎหมายเฉพาะจำกัดเสรีภาพนี้
5. เสรีภาพในการสื่อสาร รัฐ ธรรมนูญคุ้มครองการติดต่อสื่อสารถึงกันโดยที่คนอื่นไม่อาจล่วงรู้ข้อความได้ ดังนั้นจึงห้ามตรวจ กัก เปิดเผยสิ่งสื่อสารที่มีผู้ติดต่อถึงกันหรือทำวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้รู้ข้อความ เช่น เจ้าหน้าที่ของรัฐจะอ่านจดหมายที่ประชาชนส่งถึงกันหรือดักฟังโทรศัพท์ไม่ได้ เว้นแต่มีกฎหมายเฉพาะอนุญาตให้ทำได้
6. เสรีภาพในการถือศาสนา พลเมืองไทยมีเสรีภาพที่จะนับถือศาสนาใดก็ได้ แม้เป็นเพียงนิกาย หรือลัทธินิยมในทางศาสนา
7. สิทธิในการไม่ถูกเกณฑ์แรงงาน รัฐ ธรรมนูญห้ามเกณฑ์แรงงานประชาชนไปขุดคลองหรือก่อสร้าง เว้นแต่มีกฎหมายเฉพาะให้อำนาจไว้ เช่น ป้องกันภัยพิบัติสาธารณะที่เกิดขึ้นอย่างฉุกเฉิน หรือประเทศอยู่ในภาวะสงคราม
8. เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ประชาชน มีเสรีภาพในการแสดงความเห็นในเรื่องต่าง ๆ ไม่ว่าโดยการพูด หรือการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่พลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
9. เสรีภาพในทางวิชาการ รัฐ ธรรมนูญส่งเสริมทางทำงานวิชาการโดยคุ้มครองการศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย หรือการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่พลเมืองดีหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
10. เสรีภาพในการชุมชน การชุมนุมที่กระทำได้ต้องเป็นการชุมนุมโดยสงบ และปราศจากอาวุธ
11. เสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม ประชาชน สามารถรวมกลุ่มกันได้ในรูปแบบต่าง ๆ ได้ตามที่ต้องการเช่น รวมตัวกันเป็นสมาคม สหภาพ สหพันธ์ กลุ่มเกษตรกร องค์กรเอกชนหรือหมู่คณะอื่น ๆ
12. เสรีภาพในการจัดตั้งพรรคการเมือง การ รวมกลุ่มของประชาชนที่มีความคิดเห็นทางการเมืองตรงกัน อาจออกมาในรูปของการจัดตั้งพรรคการเมือง เพื่อสร้างเจตนารมณ์ทางการเมืองร่วมกันและดำเนินกิจการทางการเมืองให้เป็นไป ตามเจตนารมณ์นั้น
13. สิทธิต่อต้านการยึดอำนาจ การ ธำรงรักษาไว้ซึ่งประชาธิปไตย อาจต้องใช้วิธีต่อต้านการยึดอำนาจในการปกครองประเทศด้วยวิธีการที่ไม่เป็นไป ตามวิถีทางของรัฐธรรมนูญ เช่น การใช้กำลังปฏิวัติรัฐประหาร รัฐธรรมนูญกำหนดว่าการต่อต้านต้องทำโดยสันติวิธี
14. สิทธิในทรัพย์สิน มนุษย์ จำเป็นต้องหาทรัพย์สินเงินทอง และเก็บไว้เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของตน หากทรัพย์ที่อุตส่าห์หามาได้ด้วยความเหนื่อยยาก ต้องถูกผู้อื่นฉกฉวยเอาไป ย่อมไม่เป็นธรรมต่อเขา รัฐธรรมนูญจึงคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สิน และการตกทอดของทรัพย์สินไปยังทายาท
15. เสรีภาพในการประกอบอาชีพ บุคคลสามารถประกอบกิจการ หรือ ประกอบอาชีพใดก็ได้โดยมีกติกาคือให้แข่งขันกันโดยเสรีและเป็นธรรม เสรีภาพดังกล่าวอาจถูกจำกัดหากมีกฎหมายเฉพาะให้ทำได้ เช่น ไปประกอบอาชีพที่ทำลายสิ่งแวดล้อม หรือความมั่นคงหรือเศรษฐกิจของประเทศเป็นต้น
16. สิทธิในการได้รับการศึกษา ประชาชนมีสิทธิได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี รัฐบาลต้องจัดให้มีโรงเรียนอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายจากผู้เรียน นอกจากนี้การจัดการศึกษาต้องให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือเอกชนมีส่วนร่วมด้วย
17. สิทธิที่จะได้รับบริการทางสาธารณสุข ประชาชน มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลที่ได้มาตรฐาน การบริการสาธารณสุขของรัฐต้องทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้คนยากจนมีสิทธิได้รับบริการรักษาพยาบาลจากรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
18. สิทธิในการมีส่วนร่วมคุ้มครองสิ่งแวดล้อม การ ดูแลสิ่งแวดล้อมให้ได้ผลจำต้องอาศัยความร่วมมือของประชาชน รัฐธรรมนูญให้โอกาสประชาชนสามารถมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชน ในการบำรุงรักษา และได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งการคุ้มครอง ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
19. สิทธิในฐานะเป็นผู้บริโภค เพื่อ ให้ประชาชนได้บริโภค หรือใช้สินค้าที่ปลอดภัยมีคุณภาพ และไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากพ่อค้า รัฐธรรมนูญจึงคุ้มครองประชาชนในฐานะผู้บริโภค รวมทั้งให้สร้างองค์กรอิสระที่เป็นตัวแทนผู้บริโภค
20. สิทธิในการรับรู้ข้อมูล ข่าวสาร การ ที่ประชาชนจะติดตาม ตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างได้ผลนั้นประชาชนต้องมีข้อมูลที่ ครบถ้วนข้อมูลที่อยู่ในความครอบครองของหน่วยงานของรัฐต้องเปิดเผยต่อสารธร ณชนและประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลนั้นได้
21. สิทธิเกี่ยวกับการกระทำทางการปกครอง ใน การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ การออกคำสั่งหรือการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐ อาจกระทบต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งได้ รัฐธรรมนูญจึงกำหนดให้บุคคลนั้นมีสิทธิ มีส่วนร่วมในกระบวนการพิจารณาของเจ้าหน้าที่รัฐ เมื่อมีการปฏิบัติราชการทางปกครอง มีผลหรืออาจมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ๆ
สิทธิและเสรีภาพสำหรับบุคคลบางจำพวก
นอกเหนือจากสิทธิและเสรีภาพของพลเมืองไทยทุกคนแล้ว รัฐธรรมนูญยังคำนึงถึงสิทธิและเสรีภาพของกลุ่มคนบางจำพวก ดังต่อไปนี้
1. สื่อมวลชน
รัฐ ธรรมนูญป้องกันการริดรอนเสรีภาพในการเสนอข่าวสารของสื่อสารมวลชน จึงห้ามสั่งปิดโรงพิมพ์ สถานีวิทยุ หรือสถานีโทรทัศน์ และห้ามการเซ็นเซอร์ข่าว หรือการส่งให้เจ้าหน้าที่ตรวจข่าวก่อนเผยแพร่เว้นแต่กระทำในระหว่างประเทศ อยู่ในภาวะสงครามหรือการรบและต้องอาศัยอำนาจของกฎหมาย
พนักงาน หรือลูกจ้างในกิจการหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ทั้งภาครัฐและเอกชนมีเสรีภาพในการเสนอข่าวและแสดงความคิดเห็น โดยไม่ตกอยู่ใต้อาณัติของหน่วยงานภาครัฐหรือเจ้าของกิจการ แต่ต้องไม่ขัดกับจรรยาบรรณแห่งการประกอบวิชาชีพ
นอกจากนี้รัฐธรรมนูญถือว่า “คลื่นความถี่” ที่ ใช้ในการส่งวิทยุ โทรทัศน์ วิทยุโทรคมนาคม เป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติ เพื่อประโยชน์สาธารณะจึงกำหนดให้มีองค์กรอิสระในการจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับดูแลการประกอบกิจการวิทยุโทรทัศน์โทรคมนาคม
2. เด็ก เยาวชน และบุคคลในครอบครัว
รัฐ ธรรมนูญให้ความคุ้มครองเด็ก เยาวชน และบุคคลในครอบครัว ให้พ้นจากการใช้ความรุนแรง และการปฏิบัติอันไม่เป็นธรรม เช่น การที่สามีใช้กำลังทุบทำร้ายภรรยาและบุตร หรือบิดามารดาล่ามโซ่บุตรที่วิกลจริต
สำหรับเด็กและเยาวชน ซึ่งไม่มีผู้ดูแล มีสิทธิได้รับการเลี้ยงดูและการศึกษาจากรัฐ
3. บุคคลสูงอายุ
บุคคลซึ่งอายุเกิน 60 ปี บริบูรณ์และไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ มีสิทธิได้รับความช่วยเหลือจากรัฐ
4. ผู้พิการ
คน พิการ หรือทุพพลภาพ ถือเป็นผู้ด้อยโอกาสรัฐธรรมนูญกำหนดให้มีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกอัน เป็นสาธารณะและความช่วยเหลืออื่นจากรัฐ
5. เจ้าหน้าที่ของรัฐ
ทหาร ตำรวจ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ พนักงานส่วนท้องถิ่น และพนักงานหรือลูกจ้างขององค์การของรัฐ มีสิทธิและเสรีภาพเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป เว้นแต่ถูกจำกัดโดยกฎหมายเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับการเมือง สมรรถภาพ วินัย หรือจรรยาบรรณ
6. บุคคลที่เกี่ยวข้องในคดีอาญา
บุคคลที่เกี่ยวข้องในคดีอาญามีทั้งผู้เสียหาย ผู้ต้องหา จำเลย ผู้ต้องหาที่ถูกนำตัวฟ้องศาลแล้ว พยานที่ไปให้การต่อศาลและถูกคุมขัง
หน้าที่ของปวงชนชาวไทย
1. หน้าที่รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และการปกครองระบบประชาธิปไตย
2. หน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมาย
3. หน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
กรณีผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง และไม่ได้แจ้งเหตุอันควร หรือแจ้งแต่ไม่ใช้เหตุอันควร
จะเสียสิทธิ 8 ประการ
3.1 สิทธิยื่นร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภาผู้บริหารท้องถิ่น และสมาชิกสภาท้องถิ่น
3.2 สิทธิร้องคัดค้านการเลือกกำนันและผู้ใหญ่บ้าน
3.3 สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภาผู้บริหารท้องถิ่น และสมาชิกสภาท้องถิ่น
3.4 สิทธิสมัครรับเลือกเป็นกำนันและผู้ใหญ่บ้าน
3.5 สิทธิเข้าชื่อร้องขอเพื่อให้รัฐสภาพิจารณากฎหมาย
3.6 สิทธิเข้าชื่อร้องขอให้สภาท้องถิ่นพิจารณาออกข้อบัญญัติท้องถิ่น
3.7 สิทธิเข้าชื่อร้องขอเพื่อให้วุฒิสภามีมติถอดถอนบุคคล
3.8 สิทธิเข้าชื่อร้องให้ถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น
4. หน้าที่ป้องกันประเทศ
5. หน้าที่รับราชการทหาร
6. หน้าที่เสียภาษีอากร
7. หน้าที่ช่วยเหลือราชการ
8. หน้าที่รับการศึกษาอบรม
9. หน้าที่พิทักษ์ปกป้องและสืบสานศิลปะวัฒนธรรมของชาติ และภูมิปัญญาท้องถิ่น
10. หน้าที่อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
ระบบการบริหารราชการแผ่นดิน
ประเทศ ทุกประเทศจะต้องจัดการเรื่องระเบียบการปกครอง การบริหารงานระหว่างรัฐกับประชาชน เพื่อให้เกิดความสงบสุขและความสะดวกให้แก่ประชาชน รัฐจึงออกกฎหมายการปกครองออกมาใช้บังคับประชาชน
ความ หมายของกฎหมายการปกครองในที่นี้ หมายถึง กฎหมายที่วางระเบียบการบริหารภายในประเทศ โดยวิธีการแบ่งอำนาจการบริหารงานตั้งแต่สูงสุดลงมาจนถึงระดับต่ำสุด เป็นการกำหนดอำนาจและหน้าที่ของราชการผู้ใช้อำนาจฝ่ายบริหาร
โดยหลักทั่วไปทางวิชาการกฎหมายการปกครอง ได้จัดระเบียบการปกครองประเทศหรือที่เรียกว่า จัดระเบียบราชการบริหาร แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
การปกครองแบบรวมอำนาจปกครอง (Centralization)
การปกครองแบบกระจายอำนาจปกครอง (Decentralization)
การปกครองแบบรวมอำนาจปกครอง (Centralization) หมาย ถึง การจัดระเบียบการปกครอง โดยรวมอำนาจการปกครองทั้งหมดไว้ที่ส่วนกลาง พนักงานเจ้าหน้าที่ในส่วนกลางและต่างจังหวัดไดรับการแต่งตั้งถอดถอนและ บังคับบัญชาจากส่วนกลางเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายที่ส่วนกลางกำหนด ขึ้น เช่น การปกครองที่แบ่งส่วนราชการออกเป็น กระทรวง ทบวง กรม จังหวัด เป็นต้น
การปกครองแบบกระจายอำนาจปกครอง (Decentralization) หมาย ถึง การจัดระเบียบการ ปกครองโดยวิธีการยกฐานะท้องถิ่นหนึ่งขึ้นเป็นนิติบุคคลแล้วให้ท้องถิ่นนั้น ดำเนินการปกครองตนเองอย่างอิสระโดยการบริหารส่วนกลางจะไม่เข้ามาบังคับบัญชา ใด ๆ นอกจากคอยดูแลให้ท้องถิ่นนั้นดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ภายในขอบเขต ของกฎหมายจัดตั้งท้องถิ่นเท่านั้น เช่น การปกครองของเทศบาลในจังหวัดต่าง ๆ เทศบาลกรุงเทพมหานคร หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นต้น
กฎหมาย การปกครองที่เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินของ ประเทศไทย ได้ใช้รูปแบบการปกครอง ทั้งประเภทที่กล่าวมาแล้ว คือ ใช้ทั้งแบบรวมอำนาจและกระจายอำนาจ เพื่อให้มีความเหมาะสมกับการปฎิบัติงานของราชการ ให้มีสมรรถภาพ การกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการต่างๆให้ชัดเจน เพื่อมิให้มีการปฎบัติงานที่ซ้ำซ้อนระหว่างส่วนราชการต่างๆและเพื่อให้การ บริหารในระดับต่างๆมีเอกภาพสามารถดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายที่รัฐบาล กำหนดได้ดี
ดังนั้น รัฐบาลจึงออกกฎหมายการปกครองขึ้นมา คือ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และฉบับที่ 5 พ.ศ.2545และพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 พอสรุปดังนี้
ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน คือ กติกาที่ยอมรับเป็นบรรทัดฐาน เพื่อให้การบริหารราชการมุ่งไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ
กฎหมาย ว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน มีที่มาจากแหล่งต่าง ๆ อันได้แก่ ขนบธรรม-เนียมการปกครอง รัฐธรรมนูญและความจำเป็นในการบริหารงานเพื่อแก้ไขสถานการณ์การจัดระเบียบ บริหารราชการแผ่นดิน แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ
ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง
ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค
ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
การบริหารราชการส่วนกลาง
การ บริหารราชการส่วนกลางหมายถึง หน่วยราชการจัดดำเนินการและบริหารโดยราชการของ ส่วนกลางที่มีอำนาจในการบริหารเพื่อสนองความต้องการของประชาชน จะมีลักษณะการปกครองแบบรวมอำนาจ หรือมีความหมายว่า เป็นการรวมอำนาจในการสั่งการ การกำหนดนโยบายการวางแผน การควบคุมตรวจสอบ และการบริหารราชการสำคัญ ๆ ไว้ที่นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีและกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ตามหลักการรวมอำนาจ การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง จัดแบ่งออกได้ดังนี้
สำนักนายกรัฐมนตรี
กระทรวง หรือทบวงที่มีฐานะเทียบเท่า กระทรวง
ทบวง สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง
กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นมีฐานะเป็นกรม ซึ่งสังกัดหรือไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง
การบริหารราชการส่วนภูมิภาค
การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค จัดแบ่งออกได้ดังนี้
1. จังหวัด เป็นหน่วยราชการที่ปกครองส่วนภูมิภาคที่ใหญ่ที่สุด มีฐานะเป็นนิติบุคคลประกอบขึ้นด้วยอำเภอหลายอำเภอหลาย อำเภอ การตั้ง ยุบและเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด ให้ตราเป็นกฎหมายพระราชบัญญัติ
2. อำเภอ เป็นหน่วยราชการบริหารส่วนภูมิภาครองจากจังหวัด แต่ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลเหมือนจังหวัด การจัดตั้ง ยุบเลิกและเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอ กระทำได้โดยตราเป็น พระราชกฤษฎีกา มีนายอำเภอเป็นหัวหน้าปกครองบังคับบัญชาข้าราชการในอำเภอ และรับผิดชอบการบริหารราชการของอำเภอ นายอำเภอสังกัดกระทรวงมหาดไทย และให้มีปลัดอำเภอและหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอซึ่งกระทรวงต่าง ๆส่งมาประจำให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือ การแบ่งส่วนราชการของอำเภอ มีดังนี้
(1) สำนักงานอำเภอ มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของอำเภอนั้น ๆ มีนายอำเภอเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบ
(2) ส่วน ต่าง ๆ ซึ่งกระทรวง ทบวง กรมได้ตั้งขึ้นในอำเภอนั้น มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวง ทบวงกรมนั้น ๆ มีหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอนั้น ๆ เป็นผู้ปกครองบังคับบัญชารับผิดชอบ
การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น มีดังนี้
องค์การบริหารส่วนจังหวัด
เทศบาล
สุขาภิบาล
ราชการส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนด ได้แก่ สภาตำบลองค์การบริหารตำบลกรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา
ปัญหาการใช้กฎหมาย
1.ความไม่รู้กฎหมายเพียงพอของเจ้าหน้าที่
การ ทำงานของเจ้าพนักงานมักจะใช้การเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ตนได้พบเจออยู่ เป็นประจำ แต่ในบางครั้งเรื่องที่ได้รับแจ้งมานั้นอาจเป็นเรื่องที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย ครั้งนัก จึงยากที่จะใช้กฎหมายถ้าไม่รู้จักวิธีการอ่านกฎหมาย ศึกษากฎหมาย และแปลความกฎหมายเพื่อปรับใช้ในคดีความที่เกิดขึ้น อีก ประการหนึ่ง เนื่องจากพนักงานตำรวจมีหน้าที่รักษากฎหมายทั่วไป ผิดกับเจ้าพนักงานอื่นๆที่มีหน้าที่ให้รักษาการเฉพาะเรื่องที่กฎหมายกำหนด ซึ่งมีความชำนาญในเรื่องนั้นโดยเฉพาะ เพราะบทกฎหมายที่รักษาการนั้นมีอย่างจำกัด การที่จะให้ความรู้แก่เจ้าพนักงานตำรวจเพิ่มขึ้นจึงเป็นเรื่องจำเป็น เพื่อให้รู้ถึงกฎหมายต่างๆอย่างกว้างขวาง และรู้ถึงวิธีการและเทคนิคการใช้กฎหมาย จึงจะปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างถูกต้องเป็นธรรม
2.การใช่ดุพินิจอันไม่สมควรในการปฏิบัติหน้าที่
การ ใช้ดุลพินิจนั้นอาจมีหลายระดับตั้งแต่ในชั้นการสอบสวน การสั่งฟ้องคดีอัยการ การพิพากษาคดี หรือการออกคำสั่งคำร้องของผู้พิพากษา ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นการใช้ดุลพินิจที่กฎหมายเปิดโอกาสให้ใช้เพื่อความ ยุติธรรมในแต่ละขั้นตอนตามควรแก่กรณีทั้งสิ้น ในการใช้ดุลพินิจของพนักรัฐนั้น โดยมากมักมีการกำหนดแนวทางปฏิบัติไว้ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะมาจากนโยบายของหน่วยงาน และการปฏิบัติที่สืบต่อกันมา หาก การใช้ดุลพินิจของเจ้าพนักงานเป็นไปอย่างไม่เที่ยงธรรม การการละเว้นหรือให้อภิสิทธิ์แก่บุคคลบางกลุ่มก็ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรม แก่บุคคลบางกลุ่มขึ้น ซึ่งการใช้ดุลพินิจดังกล่าว จึงเป็นเรื่องที่ต้องแก้ไข เพื่อลดปัญหาที่เกิดขึ้นจากเจ้าพนักงาน มิฉะนั้นแล้วประชาชนจะรู้สึกเกลียดชังเจ้าพนักงานของรัฐ และรัฐก็จะไม่ได้รับความร่วมมือในการปฏิบัติตามกฎหมายจากประชาชน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)